About Me

สวัสดีครับ ผมชื่อ ไพศาล อิงควระ เรียนจบมาจากมหาวิทยาลัยกรุงเทพ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม สาขาวิชาเกมและสื่อเชิงโต้ตอบ สนใจในตำแหน่งงาน Game Programmer ผมได้มีโอกาสไปฝึกงานกับบริษัท Urnique Studio ในระยะ 6 เดือน และในเวลาว่างชอบเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ ตอนนี้กำลังศึกษา Shader ครับ


Contact

Recent Work

Place of Destination

ภาพที่ 1 : ระบบการต่อสู้ ทิศทางของการโจมตีจะตามเมาส์ของผู้เล่น Enemy มีทั้งหมดสี่แบบด้วยกันแต่ละแบบจะมีวิธีจัดการที่ไม่เหมือนกัน เมื่อ Enemy ตายจะดรอปเงินเพื่อเอาไปซื้อของ และมีโอกาสของดรอปของที่เอาไปจีบตัวละครได้อีกด้วย

ภาพที่ 2 : ระบบร้านค้า ผู้เล่นจะถูกเทเลพอร์ตมาที่นี่หลังจบการต่อสู้เพื่อซื้อของอัพเกรดตัวละคร และการคุยกับพ่อค้าจะมีตัวเลือกให้ผู้เล่นได้เลือกระหว่างการ Reroll Item และการ Heal เลือดตัวเองด้วยการจ่ายเงิน

ภาพที่ 3 : ระบบเลือกตัวละครจะมีตัวละครทั้งหมดสองตัวด้วยกันคือ Ronin และ MarksMan ทั้งสองตัวจะมีการเล่นที่แตกต่างกัน เช่น Ronin เป็นตัวละครตีใกล้ที่เน้นให้ Enemy ตีก่อนแล้วเข้าไปตี และ MarksMan ที่เป็นตัวละครยิงไกลที่เน้นการเดินไปโจมตีไป

ภาพที่ 4 : ระบบบทสนทนาได้ใช้ Ink ช่วยในการเช็คว่าเนื้อเรื่องดำเนินถึงจุดไหนแล้วแสดงบทพูดของตัว NPC และ ยังมีระบบความสัมพันธ์ของ NPC ที่ผู้เล่นจีบได้ด้วยการให้ของที่คล้ายกับ Stardew Valley และเนื้อเรื่องของ NPC ที่จีบได้มีให้อ่านจนจบได้

  • Place of Destination เป็นเกมแนว 2D Action Roguelike Dating Sim
  • คุณจะได้รับบทเป็นนักผจญภัย ที่ต้องได้ออกสำรวจดันเจี้ยนต่าง ๆ คุณจะต้องเอาชนะมอนสเตอร์ในแต่ละรอบ และเก็บเงินมาอัพเกรดตัวละครจากการชื้อ Item ต่าง ๆ ให้แข็งแกร่งขึ้นเพื่อให้อยู่รอดถึงรอบสุดท้ายที่จะมีบางอย่างรอคุณอยู่ และยังมีตัวละครที่คุณสามารถจีบได้ด้วยให้ของขวัญที่สามารถหาได้ในการต่อสู้เท่านั้น
  • จุดเด่นของเกมนี้การที่เราเห็นพัฒนาการของตัวละคร เช่นโจมตีแรงขึ้น วิ่งได้ไวขึ้น เป็นต้น และก็มีความท้าทายในตัวเอง
  • ในเกมนี้มีคนทำทั้งหมด 4 คน ผมรับหน้าที่เป็นโปรแกรมเมอร์ และ Project Lead ภายในงานนี้ผมเป็นคนทำระบบทุกอย่างภายในเกม เช่น ระบบการต่อสู้ ระบบร้านค้า ระบบการอัพเกรดตัวละคร การใส่ Animation ให้ตัวละครต่าง ๆ และระบบบทสนทนาที่ได้ใช้ตัว Ink เข้ามาช่วยในการทำ
  • เกมนี้ได้เข้าร่วมการแข่งขันในรายการ GAME TALENT SHOWCASE 2022 Presented by Bitkub และยังได้เข้ารอบที่มีทั้งหมดสามสิบทีม

More Info


Internship Project

ภาพที่ 1 : ระบบหยิบสิ่งของและระบบ Hover สิ่งของ เราสามารถหยิบสิ่งของไปมาได้เหมือนกับในเกม Papers, Please และเมื่อเราเอาเมาส์ไป Hover สิ่งของจะทำให้ Icon ของเมาส์ก็จะเปลี่ยนตามสิ่งของที่เรา Hover และมีตัว UI บอกรายละเอียดต่าง ๆ

ภาพที่ 2 : ระบบเลือก Tag สิ่งของและระบบแจ้งเตือน เมื่อเรากดเลือก Tag สิ่งของแล้ว สิ่งของจะโชว์ขึ้นมาให้เราได้ดู และเมื่อเรามีสิ่งของอันใหม่เพิ่มเข้ามาตัวเกมก็จะขึ้นแจ้งเตือนสีแดง ๆ บนปุ่ม Tag และจะหายไปเมื่อเรากดเลือก Tag ที่มีแจ้งเตือน

ภาพที่ 3 : ระบบดูรายละเอียดสิ่งของ เมื่อเรากดคลิกขวาที่สิ่งของ ก็จะเปิดใช้ระบบนี้ขึ้นมา และแสดงข้อมูลที่เกี่ยวกับสิ่งของชิ้นนั้นๆ และสามารถ Zoom เข้าไปดูสิ่งของได้อีกด้วย ก่อนหน้าที่สามารถหมุนได้แต่ว่าโดนตัดออกไป

ภาพที่ 4 : ระบบปริศนา เราจะต้องเอาสิ่งของไปใส่ไว้ในช่องตรงกลาง เมื่อใส่ผิด สิ่งของก็จะเด้งกลับไปอยู่ที่เดิม เมื่อเราใส่ถูกต้อง สิ่งของก็จะเด้งกลับไปที่เดิม และจะเกิดเหตุการณ์ตามที่เราได้กำหมดไว้

ภาพที่ 5 : ระบบบทสนทนา ระบบนี้เป็น Tool จาก Asset Store เราสามารถพูดคุยกับตัวละครได้ และมีตัวเลือกให้ถามตอบกับตัวละครอีกด้วย และ เราสามารถใส่เหตุการณ์ต่าง ๆ เมื่อเราถามได้ถูกต้อง

ภาพที่ 6 : ของในภาพนี้คือการเอาตัวระบบบทสนทนา ที่เป็น Tool จาก Asset Store มาเขียนเพิ่มเช่น ระบบขึ้นรูปประกอบ ระบบแจ้งเตือนว่ามีสิ่งของอันใหม่ และสามารถเปิดดูรายละเอียดได้ทันที และระบบเล่นเพลงตามเหตุการณ์ต่าง ๆ

ภาพที่ 7 : ระบบเลือกเพลง เมื่อเราเอาเมาส์ไปวางไว้ที่ชื่อเพลง เพลงก็จะเล่นออกมาให้เราได้ลองฟัง และเราสามารถกดเลือกเพลง หรือเอาออกเพลงได้ตามที่เราต้องการ

  • โปรเจกต์ที่ได้ทำร่วมกับทาง Urnique Studio แต่ไม่สามารถลงเกี่ยวกับรายละเอียดของโปรเจกต์ได้
  • โปรเจกต์นี้มีคนทำทั้งหมด 2 คน ผมรับหน้าที่เป็น Game Programmer ผมได้เป็นคนเขียนระบบทั้งหมดภายในเกม เกมนี้คล้าย ๆ กับเกม Papers, Please และในโปรเจกต์นี้ยังได้ใช้ Tool จาก Asset Store เข้ามาปรับใช้ในงาน และยังได้เขียนตัวอ่านข้อมูลจาก Json ที่สามารถเอาข้อมูลเข้าได้อย่างรวดเร็วเช่น การใส่ข้อมูลใน Item ถ้าใส่ข้อมูลด้วยมือจะใช้เวลาประมาณ 1 - 2 ชั่วโมงแต่ถ้าใช้ตัวอ่านที่ผมเขียนขึ้นมาใช้เวลาแค่ 1 - 2 นาที

Let's Go My Car

ภาพที่ 1 : ระบบขับรถได้ใช้ Mirror ช่วยทำในส่วนของ Multiplayer เช่นการเช็คว่ารถคันไหนเป็นของผู้เล่น และผมออกแบบการเคลื่อนที่ของรถทำอยู่บนเครื่องของผู้เล่นเพราะต้องการให้มีความลื่นไหลมากที่สุด

ภาพที่ 2 : ระบบตารางคะแนนหลังจบเกม เมื่อผู้เล่นเข้าถึงเส้นชัยแล้วจะเปิดหน้าคะแนนขึ้นมาโดยอัตโนมัติแล้วเก็บเวลาของผู้เล่นคนนั้นไว้ และทำแบบนี้จนครบทุกคน และทุกคนต้องเข้าเส้นชัยถึงจะสามารถออกจากเกมได้

ภาพที่ 3 : ระบบล็อบบี้ ในหน้านี้ผู้เล่นสามารถกดเลือกรถสีต่าง ๆ ได้แต่ว่าการเลือก Map นั้นจะมีแค่ Host เท่านั้นที่เลือกได้และชื่อของผู้เล่นนั้นจะมาจาก Steam ของผู้เล่นเอง และต้องให้ทุกคนกดพร้อม Host ถึงจะเรื่มเกมได้

ภาพที่ 4 : ระบบเข้าล็อบบี้ เมื่อมีคนกดสร้างห้องไว้ ห้องจะแสดงขึ้นอยู่ที่บนสุด และตัวอักษรจะมีสีเขียว ในการเป็น Client ผู้เล่นจะสามารถทำทุกอย่างได้เหมือน Host แต่จะไม่สามารถเลือก Map กับกด Start Game ไม่ได้

  • Let's Go My Car เป็นเกม Racing Multiplayer ที่ผู้เล่นสามารถเล่นกับเพื่อนได้ถึง 4 คน ผ่านทางเซิร์ฟเวอร์ของ Steam
  • เกมนี้ได้ใช้ Tool เข้ามาช่วยคือ Mirror ใช้ทำระบบที่เกี่ยวกับ Multiplayer ต่าง ๆ ภายในเกม และ Steamworks ใช้ในการทำระบบล็อบบี้ที่ใช้ตัวเซิร์ฟเวอร์ของ Steam เป็นตัวกลางของการ Host เกม
  • ในเกมนี้มีคนทำทั้งหมด 2 คน ผมได้รับหน้าที่เป็นโปรแกรมเมอร์ที่เขียนระบบทั้งหมดภายในเกม เช่นระบบล็อบบี้ ระบบการเคลื่อนที่ของรถ และระบบอย่างการเข้าล็อบบี้เป็นต้น

Link


Misc

Train To Hell - VR

Train To Hell เป็นเกมที่พัฒนาให้กับเครื่อง VR ในเกมนี้มีคนทำทั้งหมด 2 คน ผมได้รับหน้าที่เป็นโปรแกรมเมอร์ที่เขียนระบบทั้งหมดภายในเกม

Link

LifeForceTenka Clone

เกมนี้ถูกพัฒนาด้วย Unreal Engine 4 เรียนรู้เกี่ยวกับการทำเกมและใช้ Asset จาก UE4 FPS : Lifeforce Tenka Clone

Link


BonkSlayer

BonkSlayer เป็นเกมแนว 2D Top-Down Shooter เป็นเกมแรกที่ได้ทำขึ้นใน Unity

Link

  • Video
  • Play on Web
  • Github